วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Logistics and Supply chain

รวบรวมความหมายทั้งหมดของ Logistics & Supply Chain. 1 Year, 9 Months ago
Logistics & Supply Chain

Supply Chain = การรวมเอาหัวใจสำคัญของกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การแยกวัตถุดิบไปจนกระทั่งถึงเสร็จสิ้นกระบวนการหรือถึงมือลูกค้าที่ใช���สินค้าจริงๆ ตลอดจนกระบวนการที่อยู่ระหว่างกลางอันได้แก่ การขนส่ง การเก็บสินค้า และการขายสินค้าให้กับลูกค้า

Supply Chain Management = การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผนและการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด ที่สำคัญการจัดการโซ่อุปทานยังรวมถึงการประสานงาน (Coordination)และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทานซึ่งจะเป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบ ตัวกลางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์และลูกค้า แก่นสำคัญ คือ การจัดการโซ่อุปทานจะบูรณาการทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทานซึ่งรวมถึงภายในและภายนอกบริษัท

Logistics Management = การจัดการลอจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทานซึ่ง วางแผน นำไปปฏิบัติ และควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของสินค้า บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดที่มีการบริโภคเพื่อที่จะให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management ; SCM)การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผน และการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด ที่สำคัญการจัดการโซ่อุปทานยังรวมถึงการประสานงาน (Coordination) และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทานซึ่งจะเป็นผู้จัดส่งวัตุดิบ ตัวกลางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์และลูกค้า แก่นสำคัญก็คือ การจัดการโซ่อุปทานจะบูรณาการ (Integrate) ทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งรวมถึงทั้งภายในและภายนอกบริษัท

ลอจิสติกส์ (Logistics) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บรักษาสินค้าคงคลังอีกด้วย หรือพูดง่ายๆ ว่า ลอจิสติกส์ คือการนำสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม สร้างความพอใจสูงสุดให้ลูกค้า โดยที่กิจการจะได้รับผลกำไร หรือประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง
การบริหารจัดการระบบลอจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ต้นทุนในเรื่องของการเคลื่อนย้าย การขนส่ง การคลังสินค้า การรักษาสินค้าต่ำ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันยืนหยัดอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงได้หรือพูดอีกนัย การจัดการระบบลอจิสติกส์ที่ดีจะเป็นหนึ่งในหนทางแห่งความเป็นเลิศของธุรกิจนั่นเอง
(อาจารย์ วิทยา สุหฤทดำรง)

Supply Chain และ Logistics Network มีความหมายเหมือนกัน คือการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นทางและปลายทางได้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่แบ่งแยกให้ supply chain ไปในทางบริหาร หรือ Logistics ไปในทาง operation
(อาจารย์ วัชรพล สุขโหตุ)

Logistics คือ การลำเลียงโดยอาศัยการขนส่งรูปแบบใดๆ ต้องอาศัย Transportation ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ไปสู่ที่ต่างๆจนถึง customer (ต้นน้ำถึงปลายน้ำ) โดยคำนึงถึงความรวดเร็ว ต้นทุนต่ำสุด ยืดหยุ่นได้ ( สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งได้ ) และนำคณิตศาสตร์มาช่วยในการตัดสินใจ (Decision Making)

Supply Chain หมายถึง สายโซ่การส่งมอบ ขั้นตอนและองค์กรของสถาบันต่างๆที่ทำหน้าที่ส่งมอบทรัพยากรและปัจจัยการผลิตให้กับลูกค้���

Logistics เป็นเครื่องมือของการผลิต Supply Chain เป็นองค์ประกอบของการผลิต Operation เป็นส่วนหนึ่งของ Logistics และ Supply Chain

Supply Chain เป็นขั้นตอนที่จะส่ง Goods และ Services ไปยังผู้ผลิต Logistics เป็นวิธีการขนส่งหรือลำเลียงตามวิธีการหลายรูปแบบ
(อาจารย์ วิชัย ธนรังสีกุล)

การบริหารห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain Management เป็นการบริหารการทำงานร่วมกันระหว่างกิจการที่อยู่ในสายการผลิตตลอดสาย ตั้งแต่ต้นกระบวนการผลิตไปจนจบกระบวนการที่ผู้บริโภค โดยมีการแบ่งปันข่าวสารข้อมูลที่จำเป็น และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้สูงสุด ผลที่ได้จะทำให้ ผู้ประกอบการตลอดสายสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้รับ ผลตอบแทนจากการดำเนินงานดีขึ้น สามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น

การบริหารห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain Management เป็นการบริหารกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบจนกระทั่งผลิตเสร็จแล้���ส่งไปยังผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง